โครงการพระราชดำริ

ประวัติความเป็นมาโครงการในพระราชดำริ
โครงการแกล้งดิน
โครงการชั่งหัวมัน
โครงการฝนหลวง
โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา
โครงการฝายชะลอน้ำ
โครงการแก้มลิง

เว็บไซต์ยอดฮิต

facebook
youtube
google
 

โครงการฝายชะลอน้ำ


โครงการฝายชะลอน้ำ ตัวอย่างกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำ หลักการหนึ่งในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ คือ การทำฝายชะลอน้ำ หรือฝายชะลอความชุ่มชื้น ซึ่งหมายถึง สิ่งก่อสร้างที่ขวางทางกั้นลำน้ำขนาดเล็กในบริเวณต้นน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เพื่อให้น้ำที่ไหลมาแรงสามารถที่จะชะลอการไหลช้าลงและเก็บกักตะกอน เพื่อไม่ให้ลงไปสู่บริเวณลุ่มน้ำตอนล่าง ประเภทของฝายชะลอน้ำหรือฝายชะลอความชุ่มชื้น แบ่งได้ ๒ ประเภท ๑. ฝายต้นน้ำลำธาร หรือฝายชะลอความชุ่มชื้น เป็นฝายที่กักเก็บน้ำให้ไหลช้าลง และสามารถซึมลงใต้ผิวดิน เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้แก่พื้นบริเวณนั้น ๒. ฝายดักตะกอนดิน ทราย เป็นฝายที่ดักตะกอนดินและทรายไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง รูปแบบของฝายสามารถแบ่งออกได้ ๓ แบบ ๑. แบบท้องถิ่นเบื้องต้น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ฝายแม้ว” เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุมีอยู่ตามธรรมชาติที่ เช่น กิ่งไม้ ท่อนไม้ ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่างๆ ในลำห้วย หรือร่องน้ำ โดยจะสามารถดักตะกอน ชะลอการไหลของน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่บริเวณพื้นที่รอบๆ ฝายได้ ๒. แบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร เป็นการก่อสร้างด้วยการเรียงหินเป็นผนังกั้นน้ำ ก่อสร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วย หรือร่องน้ำ จะสามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน ๓. แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นการก่อสร้างแบบถาวร ส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องน้ำ ทำให้สามารถดักตะกอน และเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี ค่าก่อสร้างขึ้นอยู่กับขนาดของลำห้วย ซึ่งควรมีความกว้างไม่เกิน ๔ เมตร ประโยชน์ของฝายชะลอน้ำ ๑. ช่วยเก็บกักน้ำ๒. ช่วยลดความรุนแรงของการเกิดไฟป่า ๓. ช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน และลดความรุนแรงของกระแสน้ำในลำห้วย ๔. ช่วยกักเก็บตะกอนและวัสดุต่างๆ ที่ไหลลงมากับน้ำในลำห้วย  
โรงเรียนจักราชวิทยา อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
นายอดิศร สัมกลาง เลขที่ 3 ม.4/2