หน้าหลัก
หน้าแรก
ระบบสุริยะจักรวาล
ดวงอาทิตย์
ดาวพุธ
ดาวศุกร์
โลก
ดาวอังคาร
ดาวพฤหัสบดี
ดาวเสาร์
ดาวยูเรนัส
ดาวเนปจูน
ประวัติผู้ทำ
โลก


โลก (อังกฤษ: Earth หรือ the World[25], กรีก: Gaia,[27] ละติน: TERRA) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นมากที่สุดในระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์หินทั้งสี่ดวงของระบบสุริยะ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากหลักฐานการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งข้อมูลอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณสี่พันห้าร้อยล้านปีก่อน โลกมีปฏิสัมพันธ์เชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ระหว่างการโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ โลกจะหมุนรอบแกนตนเองประมาณ 366.26 รอบ เกิดเป็นวันสุริยะ 365.26 วัน หรือหนึ่งปีดาราคติ[n 5] แกนหมุนของโลกเอียงทำมุม 23.4 องศา กับแนวตั้งฉากของระนาบการโคจร ก่อให้เกิดฤดูกาลผันแปรไปบนพื้นผิวดาวในรอบระยะเวลาหนึ่งปีฤดูกาล (365.24 วันสุริยะ)[28] ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก ปฏิสัมพันธ์เชิงโน้มถ่วงระหว่างดวงจันทร์กับโลกทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงในมหาสมุทร หน่วงการหมุนของโลกให้ช้าลงทีละน้อย และทำให้ความเอียงของแกนโลกมีเสถียรภาพ ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ[29] บริเวณที่เหลือประกอบด้วยทวีปและเกาะต่าง ๆ ซึ่งมีทะเลสาบและแหล่งน้ำอื่น ๆ จำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก[30] สิ่งมีชีวิตได้ปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและพิ้นผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน และเป็นผลให้เกิดการสร้างชั้นโอโซนขึ้นในบรรยากาศ ทั้งชั้นโอโซนและสนามแม่เหล็กโลกได้ร่วมกันกั้นขวางเกือบทั้งหมดของรังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตจากดวงอาทิตย์ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถเจริญรุ่งเรืองได้ทั้งบนผืนดินเช่นเดียวกับในผืนน้ำ[31] นับจากนั้นมา ตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลก ล้วนยอมให้สิ่งมีชีวิตยังคงดำรงอยู่ได้ ความหลากหลายทางชีวภาพของโลกได้ใช้เวลากว่าหลายร้อยล้านปีในการวิวัฒน์ขึ้น แผ่ขยายมาอย่างต่อเนื่องเว้นแต่เมื่อถูกขัดขวางโดยการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่[32] แม้ว่าตามการประมาณของนักการศึกษาจะคาดว่ามากกว่าร้อยละ 99 ของสปีชีส์ทั้งหมดที่เคยอยู่อาศัยบนโลกนั้นสูญพันธุ์ไปแล้ว[33][34] โลกก็ยังคงเป็นบ้านอาศัยของสิ่งมีชีวิตร่วม 10-14 ล้านสปีชีส์[35][36] เป็นที่พึ่งพิงของมนุษย์มากกว่า 7.2 พันล้านคน[37] ทั้งด้วยชีวมณฑลและแร่ธาตุต่าง ๆ ประชากรมนุษย์บนโลกแบ่งออกได้เป็นรัฐเอกราชกว่าสองร้อยแห่งโดยมีปฏิสัมพันธ์กันผ่านทางการทูต ความขัดแย้ง การท่องเที่ยว การค้า ตลอดจนการสื่อสาร

นางสาววรนุช นะสังขมิตร เลขที่ 34
โรงเรียนจักราชวิทยา อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา