หน้าหลัก

หน้าหลัก
ระบบนิเวศบนบก
ระบบนิเวศทางน้ำ
การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ
รูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ภัยคุกคามจากมนุษย์ที่มีผลต่อระบนิเวศ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ผู้จัดทำ

เว็บไซต์ยอดฮิต


google
youtube
facebook
โรงเรียนจักราชวิทยา

รูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต


รูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันมีอยู่หลากหลายรูปแบบดังนี้
-ภาวะใต้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation : + ,+ ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน แม้แยกกันอยู่ก็สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ เช่น
- แมลงกับดอกไม้ : แมลงได้รับน้ำหวานจากดอกไม้ ส่วนดอกไม้ได้แมลงช่วยผสมเกสรทำให้แพร่พันธุ์ได้ดีขึ้น
- ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล (sea anemone) : ดอกไม้ทะเลซึ่งเกาะอยู่บนปูเสฉวนช่วยป้องกันภัยและพรางตัวให้ปูเสฉวน ส่วนปูเสฉวนช่วยให้ดอกไม้ทะเลเคลื่อนที่หาแหล่งอาหารใหม่ ๆ ได้
- มดดำกับเพลี้ย : มดดำช่วยช่วยป้องกันอันตรายและพาเพลี้ยไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ดูดน้ำหวาน โดยมดดำจะได้รับน้ำหวานที่เพลี้ยดูดจากพืชด้วย
- นกเอี้ยงกับควาย : นกเอี้ยงช่วยกินแมลงและปรสิตบนหลังควาย รวมทั้งช่วยเตือนภัยให้แก่ควายอีกด้วย
-ภาวะพึ่งพา (Mutualism : +,+)หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยต่างก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากแยกกันอยู่จะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ เช่น
- ไลเคนส์ (Lichens) : สาหร่ายอยู่ร่วมกับสาหร่าย สาหร่ายได้รับความชื้นและแร่ธาตุจากรา ราได้รับอาหารและออกซิเจนจากสาหร่าย
- โพรโทซัวในลำไส้ปลวก : โพรโทซัวชนิด Trichonympha sp. ช่วยย่อยเซลลูโลสให้ปลวก ปลวกให้ที่อยู่อาศัยและอาหารแก่โพรโทซัว
- แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ : แบคทีเรียชนิด Escherichia coli ช่วยย่อยกากอาหารและสร้างวิตามิน K , B ให้มนุษย์ ส่วนมนุษย์ให้ที่อยู่อาศัยและอาหารแก่แบคที่เรีย
- แบคทีเรียในปมรากพืชตระกูลถั่ว : แบคททเรียชนิด Rhizobium sp. ช่วยตรึง N ในอากาศเป็นไนเตรต (NO) ในดินให้ถั่วใช้ประโยชน์ได้ ส่วนถั่วให้ที่อยู่อาศัยแก่แบคทีเรีย
- ราในรากพืชตระกูลสน : ราชนิด Mycorrhiza sp. ช่วยทำให้ฟอสฟอรัสในดินอยู่ในรูปที่สนนำไปใช้ประโยชน์ได้ และสนให้ที่อยู่อาศัยและอาหารแก่รา
- สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำในแหนแดง : สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิด Anabaena sp. และ Nostoc sp. ช่วยตรึง N ในอากาศเป็น NO ให้แหนแดงนำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนแหนแดงให้ที่อยู่อาศัยแก่สาหร่าย
-ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล (Commensalism : + , 0) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่น
- ปลาฉลามกับเหาฉลาม : เหาฉลามเกาะติดกับปลาฉลาม ได้เศษอาหารจากปลาฉลาม โดยปลาฉลามก็ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร
- พืชอิงอาศัย (epiphyte) บน ต้นไม้ใหญ่ : พืชอิงอาศัย เช่น ชายผ้าสีดาหรือกล้วยไม้เกาะอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ได้รับความชุ่มชื้น ที่อยู่อาศัยและแสงสว่างที่เหมาะสม โดยต้นไม้ใหญ่ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ใด ๆ
- นก ต่อ แตน ผึ้ง ทำรังบนต้นไม้ : สัตว์เหล่านี้ได้ที่อยู่อาศัย หลบภัยจากศัตรูธรรมชาติ โดยต้นไม้ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร
-ภาวะปรสิต (Parasitism : + , -) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ เรียกว่า ปรสิต (parasite) อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ เรียกว่า ผู้ถูกอาศัย (host) เช่น
- เห็บ เหา ไร หมัด บนร่างกายสัตว์ : ปรสิตภายนอก (ectoparasite) เหล่านี้ดูดเลือดจากร่างกายสัตว์จึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ ส่วนสัตว์เป็นฝ่ายเสียประโยชน์
- พยาธิ ในร่างกายสัตว์ :ปรสิตภายใน (endoparasite) จะดูดสารอาหารจากร่างกายสัตว์จึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ ส่วนสัตว์เป็นฝ่ายเสียประโยชน์
- พืชเบียน (parasitic plant) บนต้นไม้ : พืชเบียน เช่น พวกกาฝากชนิดต่าง ๆ เกาะและดูดน้ำเลี้ยงจากต้นไม้จึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้เสียประโยชน์
- ภาวะล่าเหยื่อ (Predation : + , -) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งจับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้ล่า (predator) ส่วนฝ่ายที่ถูกจับเป็นอาหารหรือถูกล่า เรียกว่า เหยื่อ (prey) เช่น
-ภาวะแข่งขัน (Competition : - ,-) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่มีการแย่งปัจจัยในการดำรงชีพเหมือนกันจึงทำให้เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เช่น เสือ , สิงโต , สุนัขป่า แย่งชิงกันครอบครองที่อยู่อาศัยหรืออาหารพืชหลายชนิดที่เจริญอยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นต้น
-ภาวะหลั่งสารยับยั้งการเจริญ (Antibiosis : 0 , -) หมาย ถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหลั่งสารมายับยั้งการเจริญ ของแบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน บางชนิดหลั่งสารพิษ เรียกว่า hydroxylamine ทำให้สัตว์น้ำในบริเวณนั้นได้รับอันตราย
-ภาวะเป็นกลาง (Neutralism : 0 , 0) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอิสระต่อกันจึงไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้หรือเสียประโยชน์ เช่น
- แมงมุมกับกระต่ายอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า แมงมุมกินแมลงเป็นอาหาร ส่วนกระต่ายกินหญ้าเป็นอาหาร จึงไม่มีฝ่ายใดได้หรือเสียประโยชน์
- กบ กับไส้เดือนดินอาศัยอยู่ในทุ่งนา กบกินแมลงเป็นอาหาร ส่วนไส้เดือนดิน กินซากสิ่งมีชีวิตที่เน่าเปื่อยผุพัง จึงไม่มีฝ่ายใดได้หรือเสียประโยชน์
ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/ระบบนิเวศ


นายธนพล ทนกระโทก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/2
โรงเรียนจักราชวิทยา อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา